วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

1.ชื่อเรื่อง


1. ชื่อเรื่อง ( The Title )

เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์  (2549 : 32)   กล่าวว่า ต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม

ลัดดาวัลย์  เพชรโรจน์ และ อัจฉรา  ชำนิประศาสน์ (2547 : 33)   กล่าวว่า การตั้งชื่อเรื่องวิจัยมีแนวคิดแบ่งออกได้เป็น 2 แนวคิดคือการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้นๆที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย

นิภา  ศรีไพโรจน์  (2549 : 175)  ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547”

สรุป :   ชื่อเรื่อง   คือ  ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร  เป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรกของโครงร่างการวิจัยทั้งโครงการ ควรตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ เป็นเรื่องที่วิจัยได้   เป็นหัวข้อที่มีประโยชน์และอยู่ในความสามารถของผู้วิจัยที่จะดำเนินการได้  การเลือกหัวข้อเรื่องต้องสอดคล้องกับปัญหาที่จะศึกษาอ้างอิง




ที่มา :    นิภา  ศรีไพโรจน์.  (2549).   การเลือกปัญหาในการวิจัย.  กรุงเทพฯ :  คุรุสภา.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์และอัจฉรา ชำนิประศาสน์.  (2547).  ระเบียบวิธีการวิจัย.
กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.
เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์.  (2549).  การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น จัดพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น